วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ข่าวการใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ล่าสุด 59

สวัสดีตอนบ่ายครับ  สำหรับวันนี้ก็เช่นเคยเรามีข่าวเกี่ยวกับการใช้บัญชีหรือที่เรียกว่าการรวมบัญชีมาฝากนะครับ - รับทราบการใช้บัญชีรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สพฐ. ที่ประชุมรับทราบหลักการในการใช้บัญชีรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่ง ไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่น เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ให้ยุบเลิก อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้โอนอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาไปเป็นของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) และเพื่อให้การบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วยสังกัด สพฐ. ปี 2558 มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยสรุป คือ 
1) ให้ กศจ.รวมบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี 2558 เป็นบัญชี กศจ.อีกหนึ่งบัญชี พร้อมแจ้งไปยังผู้สอบแข่งขันในแต่ละกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก ที่ประสงค์จะเข้ารับการประเมินเพื่อจัดลำดับใหม่ในบัญชีของ กศจ. โดยผู้สอบแข่งขันได้จะยังคงมีสิทธิ์ในบัญชี-ในลำดับ-มีอายุบัญชีเท่าเดิม ส่วนการขึ้นบัญชีของ กศจ. ก็จะมีอายุเท่าบัญชีเท่าเดิมเช่นกัน 
2) ให้ กศจ.เรียกตัวผู้สอบแข่งขันได้มาบรรจุและแต่งตั้ง 
- กรณีเขตพื้นที่การศึกษาใดมีบัญชีของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ให้เรียกตัวจากบัญชีของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษานั้น ในส่วนบัญชีเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้บรรจุและแต่งตั้งได้เฉพาะจังหวัดที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานั้น 
- กรณีเขตพื้นที่การศึกษาใดไม่มีบัญชีอยู่เดิม หรือเรียกหมดบัญชี หรือบัญชีถูกยกเลิก ให้เรียกตัวจากบัญชีของ กศจ. หากไม่มีบัญชีของ กศจ.ให้ขอบัญชีจาก กศจ.อื่นในพื้นที่ภาคเดียวกัน โดยความเห็นชอบจากศึกษาธิการภาค (ศธภ.) และหากไม่มีบัญชีของ กศจ.ที่มีพื้นที่ใกล้เคียงภาคเดียวกัน ให้ขอใช้บัญชีจาก กศจ.พื้นที่ใกล้เคียงในภาคอื่น โดยความเห็นชอบของ ก.ค.ศ.

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ
18 พฤษภาคม 2559 

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ข่าวการศึกษาล่าสุด 2559 News!

"ตวง"เผย กมธ.การศึกษาและการกีฬา สนช.เสนอข้อคิดเห็นปรับโครงสร้าง ศธ.ถึงมือเสมา 1 แล้ว สลาย 5 แท่ง ศธ.ต้องเล็กลง แยกฝ่ายนโยบาย ออกจากฝ่ายปฏิบัติ สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลมีอำนาจใน 4 งานชัดเจน 

วันนี้ (15 ก.พ.) ดร.ตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและการกีฬาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กมธ.การศึกษาฯ สนช.ได้ให้ข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต่อ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ไปแล้ว โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวสอดคล้องกับความคิดเห็นของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เดิม คือ โครงสร้างของ ศธ.ต้องเล็กลง แยกฝ่ายนโยบาย ออกจากฝ่ายปฏิบัติ โดยฝ่ายปฏิบัติหรือสถานศึกษาต้องเป็นนิติบุคคลมีอำนาจใน 4งาน ตามมาตรา 39 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ คือ อำนาจวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป และการจัดการงบประมาณ ส่วน ศธ.จะเป็นเพียงผู้ให้นโยบาย กำกับ ติดตาม และควบคุมดูแลเท่านั้น ไม่ใช่เป็นฝ่ายนโยบายลงไปล้วงลูกการปฏิบัติงาน และงบประมาณมาอยู่ส่วนกลางเหมือนในปัจจุบัน “โครงสร้างที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน คือ ระบบ 5 แท่ง หรือ 5องค์กรหลักที่ต่างคนต่างใหญ่ประสานกันไม่ได้ ผู้บริหารแต่ละองค์กรก็ไปขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีแต่ละคนซึ่งก็เป็นการสร้างอาณาจักรใหม่อีก ไม่เอื้อต่อการปฏิรูปการเรียนรู้ มุ่งสู่ผู้เรียน ให้มีคุณภาพได้ และไม่ตอบโจทย์ว่าทำให้กระทรวงเล็กลง แต่มีอำนาจใหญ่ขึ้นที่โรงเรียน โดยโครงสร้างในส่วนกลางของ ศธ.ที่ได้เสนอมี ปลัด ศธ.เป็นผู้ประสานระดับ11 มีกรม หรือ สำนักงานคณะกรรมการต่างๆ ดังนี้ การศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งกลไกภายในเป็นประถม-มัธยมก็ไม่ติดใจ,การอาชีวศึกษา,กรมวิชาการ ซึ่งอาจจะเรียกว่าสถาบันวิจัยพัฒนาหลักสูตรและระบบการเรียนการสอนและจะยกฐานะหน่วยงานที่อยู่ใต้สำนักงานปลัด ศธ.เช่น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมมการศึกษาเอกชน(สช.)และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)ออกมาเป็นกรม เพื่อให้ทำงานคล่องตัวก็ได้” ดร.ตวง กล่าว.   

ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559

สรุปเอกสารนายกพบเพื่อนครู ล่าสุด 59

          สวัสดีครับ  พี่น้องเพื่อนร่วมวิชาชีพทุกท่าน  รวมทั้งผู้ร่วมอุดมการณ์  วันนี้ Blog ได้นำเสนอสรุปเอกสารนายกพบเพื่อนครู  ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 13 พฤษภาคม 2559 เวลา 13.00 น. - 16.30 น.  วันนี้ถือเป็นโอกาสดีที่คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่านจะได้  รับมอบนโยบายโดยตรงจากท่านนายกรัฐมนตรี  ผู้นำประเทศของเรา  ที่ท่านได้ให้ความสำคัญการศึกษาอันเป็นพลังสมองของชาติในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความเจริญภายภาคหน้า  มาดูเอกสารกันเลยครับ
นี่คือบทนำที่ระบุถึงวัตถุประสงค์ของการที่ท่านนายกต้องการพบคณะครูเพื่อจะได้มอบนโยบายในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยเรา




ขอบคุณที่ติดตามเรา  วันนี้เราจะเห็นว่าการศึกษาไทยของเรามีการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ  มากมาย ที่รัฐบาลชุด คสช.ได้กำลังดำเนินการอยู่  ขอให้เราในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง  ได้ช่วยกันติดตามข่าวสารและอ่านร่างกฏหมายทุกคน  เพื่อที่จะได้มีความรู้ความเข้าใจและกระจ่างชัดถึงเจตนารมณ์โดยแท้จริงของรัฐบาล  อย่าไปหลงชื่อข่าว  หรือตื่นตระหนกอะไรถ้าหากเราไม่ได้ศึกษาข้อมูลโดยแท้จริง  หรือถ้าเราจะเชื่อต้องเป็นคนที่คลุกคลีอยู่กับวงการศึกษาเท่านั้นที่จะให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับเรา  ขอทุกท่านติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดนะครับ  ทางเราจะนำข้อมูลมาเผยแพร่ให้ทุกท่านอย่างต่อเนื่องครับ  สนใจเอกสารแบบฉบับเต็มคลิกดาวน์โหลดด้านล่างครับ

ตรงนี้ครับ >>>>> เอกสารนายกพบเพื่อนครู 13 พ.ค.59



วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สมาพันธ์ครูค้านปรับโครงสร้าง ล่าสุด 59

สวัสดีครับทุกท่าน ที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวงการศึกษา  ล่าสุด วันที่ 7 พ.ค.59 
นายสนอง ทาหอม ประธานสภามนตรีสมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย เป็นประธานประชุมเสวนาวิชาการเรื่อง "กรอบทิศทางการปฏิรูปการศึกษา เปลี่ยนโครงสร้าง ปรับสถานะ จะส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพจริงหรือไม่" เพื่อระดมความคิดเห็นด้านการปฏิรูปการศึกษาที่มีผลต่อคุณภาพของผู้เรียน สังเคราะห์ความคิดนำเสนอต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยมีข้าราชการครูกว่า 300 คน เข้าร่วมประชุม ที่โรงแรมศรี พฤทธาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ นายสนองกล่าวว่า จากการศึกษาเอกสารแนวคิดของนักวิชาการที่จะปฏิรูปประเทศใน 15 ปีข้างหน้า การศึกษาไทยจะมีลักษณะโดยสรุปว่า
1.รัฐจะไม่เป็นผู้จัดการศึกษาเอง 
2.จะถ่ายโอนสถานศึกษาหรือโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนขนาดเล็กจะถูกควบรวม โรงเรียนที่มีความพร้อมให้เป็นนิติบุคคลในกำกับ อนาคตจะไม่มีข้าราชการครูจะเปลี่ยนสถานะเป็นพนักงานราชการและอัตราจ้างตามสัญญาจ้าง วิชาชีพครูจะไม่เป็นวิชาชีพควบคุม ไม่ได้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเหมือนปัจจุบัน นักเรียนจะได้รับคูปองเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาเรียนฟรีจากอนุบาลถึงชั้น ม.3 ซึ่งจากการที่ได้ทำความเข้าใจกับครูทั้งประเทศมีข้อสรุปว่า เพื่อความมั่นคงของชาติ รัฐจะต้องจัดการศึกษาต่อไป ทุกโรงเรียนจะต้องไม่ถูกยุบแม้ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กก็ตาม ข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาทุกคนต้องเป็นข้าราชการครู ฝากไปถึงรัฐบาลอยากให้รับฟังความคิดด้วย ด้านนายวิสัย เขตสกุล ประธานชมรมครูประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จากการที่จะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการศึกษานั้น ไม่ได้ตอบโจทย์ว่า คุณภาพของผู้เรียนจะสูงขึ้นได้อย่างไร แต่ละครั้งที่มีการปรับเปลี่ยนทางการศึกษาจะอ้างว่าทำให้การศึกษาดีขึ้นทั้งสิ้น การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ปรับเปลี่ยนสถานะเป็นสิ่งที่ชมรมครูฯตระหนักและตระหนกใจยิ่ง จะปรับเปลี่ยนสถานะของข้าราชการครูเป็นพนักงานของรัฐ เห็นว่าผู้ก่อการศึกษาเรื่องนี้มาน้อย ไปเชื่อนักวิชาการที่จบมาจากประเทศตะวันตกไปลอกเลียนด้านการจัดการศึกษามาใช้ ซึ่งไม่เหมาะกับการศึกษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการโรงเรียนประชารัฐ เด็กอื่นๆ ไม่มีโอกาสเข้าเรียน จะมีโอกาสเฉพาะโรงเรียนที่รัฐทุ่มงบประมาณลงไปให้ ซึ่งไม่เป็นธรรมกับเด็กทั่วประเทศ เพราะว่าไม่กระจายทั่วถึง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : www.kroobanrao.blogspot.com
ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 11 พ.ค. 2559 (กรอบบ่าย)
นำเสนอโดย ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ Advertisement

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การพัฒนาชุดฝกทักษะ รายวิชาฟิสิกส์ 4 รหัสวิชา ว33204 เรื่อง ไฟฟ้าสถิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


นายไพสิทธิ์  พัวระยะ                                                     ตำแหน่ง ครู วิทยะฐานะ ครูชำนาญการ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                   โรงเรียนขุขันธ์  อ.ขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ 33140
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28                                                                                                                                 

สรุปประเด็นสำคัญที่ รมว.ศธ.4 พ.ค.59

สรุปประเด็นสำคัญที่ รมว.ศธ. ประชุมมอบนโยบายการปฏิบัติงานของศึกษาธิการภาค วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2559 ณ ห้องประชุมบรรจง ชูสกุลชาติ ชั้น 6 สำนักงาน กศน.


1. รมว.ศธ. เปรียบท่านศึกษาธิการภาค เหมือนกับแม่ทัพ ในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ
2. ศึกษาธิการภาค ต้องสร้าง Perception ให้กับศึกษาธิการจังหวัด ให้รับรู้ถึงนโยบายและสถานการณ์ทางการศึกษา และสามารถนำเสนอต่อ กศจ. ให้เห็นภาพเหล่านี้ด้วย
3. ข้อมูลสารสนเทศและสถิติมีความสำคัญมากทั้งระดับภาคและจังหวัด โดยท่าน รมว.จะใช้ข้อมูลสถิติในการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน
4. ท่าน พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการ รมว.ศธ. ได้นำเสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. และรายละเอียดโครงการสำคัญที่จะต้องขับเคลื่อน ซึ่งการนำไปสู่การปฏิบัติจะต้องสอดคล้องกับบริบทของแต่ละจังหวัด โดยมีโครงการสำคัญตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. เช่น
-การใช้เครือข่ายอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง (ทุกโรงเรียนต้องมีมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง)
-ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-อ่านออกเขียนได้
-STEM
-ยกระดับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
-การผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
-คืนครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน
-นโยบายซ้ำชั้น (มอบ สพฐ. จัดทำแนวทางให้ชัดเจน)
-DLTV / DLIT
-การแนะแนวเรื่องอาชีพ
-การเข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ต
-การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
-การขับเคลื่อนงาน สอศ. ตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาของ ศธ.
-การขับเคลื่อนงาน กศน. ตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาของ ศธ.
-โครงการโรงเรียนประชารัฐ

5.กำลังดำเนินการจัดทำ KPI  ของ ศธภ. ศธจ. สพท. โดยจะมี KPI หลัก เช่น ผล O-Net รายภาค รายจังหวัด เป็นต้น  และ KPI รายโครงการ

6.ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานหรือปัญหาในข้อกฏหมายตามคำสั่ง หน.คสช. ที่ 10 และ 11 เช่น การตั้ง อกคศ. และแนวทางการบริหารงานบุคคลต่างๆ ได้มอบให้ท่านเลขาธิการ ก.ค.ศ. รวบรวบประเด็นและนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ต่อไป

7.เรื่องที่ท่าน รมว.ศธ. concerns
-เด็กออกนอกระบบ ให้วางระบบแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน โดยมี สป. เป็นเจ้าภาพ และ สพฐ. สอศ. กศน. สช. ร่วมด้วย
-ให้ ศธภ. และ ศธจ. Keep Contact กับสภานักเรียน ในการรับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
-หาแนวทางให้ ศธภ. สามารถออกแนวปฏิบัติต่างๆในพื้นที่ได้
-มอบ สช. ให้วิคราะห์ผลคะแนน O-Net ของโรงเรียน สช. ที่เข้าร่วมโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กับโรงเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ
-การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ให้ช่วยกันสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชน อย่าให้ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายต่างๆ
-เรื่องโครงสร้างและอัตรากำลังของ ศธภ. และ ศธจ. ได้มอบให้ท่านรองปลัดฯผานิตย์ ดำเนินการอยู่ขณะนี้

ขอบคุณแหล่งข่าว
วรัท / กพร.สป.
สรุปประเด็น
4/5/59

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ข่าวเลื่อนสอบครูผู้ช่วย ล่าสุด 59

ศธ.เลื่อนสมัครสอบครูผู้ช่วย สพฐ. 2559
„ศธ.เลื่อนสมัครสอบครูผู้ช่วย    สพฐ. "ดาว์พงษ์" 
เผยต้องเลื่อนประกาศรับสมัครครูผู้ช่วยจาก 16 พ.ค.เป็นปลาย พ.ค. ชี้เป็นช่วงปรับระบบการทำงาน ต้องให้เวลา กศจ.เตรียมตัว วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2559 เวลา 17:56 น. วันนี้ (4 พ.ค.)  พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนได้เชิญศึกษาธิการภาค(ศธภ.) และศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.)มารับนโยบายการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ขณะเดียวกันก็รับฟังปัญหาการทำงานของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.)ด้วย พบว่า มีปัญหาที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน คือ กรณีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ครั้งที่ 1/2559 ซึ่ง สพฐ.ได้กำหนดให้ประกาศการรับสมัครภายในวันที่ 16 พ.ค.59รับสมัครวันที่ 23-29 พ.ค.59 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบวันที่ 10 มิ.ย.59 สอบข้อเขียนภาค ก วันที่ 25 มิ.ย.59 สอบภาค ข วันที่ 26 มิ.ย.59 สอบสัมภาษณ์ ภาค ค วันที่ 27 มิ.ย.59 และประกาศผลสอบวันที่ 7 ก.ค.59 นั้น เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า ช่วงเวลาดังกล่าวอาจจะไม่เพียงพอที่จะดำเนินการ เพราะเป็นช่วงรอยต่อของการปรับเปลี่ยนระบบ ดังนั้นจึงต้องเลื่อนการสอบออกไปก่อน โดยคาดว่าน่าจะเปิดรับสมัครได้ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2559 เพื่อให้ กศจ.แต่ละจังหวัดมีเวลาเตรียมความพร้อม “การเลื่อนสอบครูผู้ช่วยอาจส่งผลกระทบกับโรงเรียนเอกชน ที่อาจต้องมีครูลาออกหลังเปิดเทอมไปแล้ว ก็ต้องขออภัย แต่เชื่อว่าปีต่อไปจะไม่มีปัญหาเกิดขึ้นอีกแน่นอน นอกจากนี้ ศธภ.ยังสะท้อนถึงปัญหาการตั้งอนุกรรมการอื่น ๆ เพื่อมาช่วยขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายด้วย ซึ่งเรื่องนี้อาจต้องมีการออกแนวปฏิบัติเพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติงาน โดยผมจะนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค(คปภ.)ต่อไป”รมว.ศึกษาธิการกล่าว“

ขอบคุณที่มา: http://www.dailynews.co.th

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สรุปข้อสอบนโยบายโรงเรียนประชารัฐ ล่าสุด 2559

สวัสดีครับ  ทุกท่านที่ติดตาม Blog เรา ประสำคัญที่จะต้องออกข้อสอบ คือเรื่อง ประชารัฐ  กำลังมาแรงคิดว่าต้องออกแน่นอน 1-2 ข้อ ครับ  วันนี้อากาศดีมากในช่วงเช้าๆ ก็ขอนำเรียนในเรื่อง โรงเรียนประชารัฐที่เป็นประเด็นข้อสอบ  ที่ผู้เขียนตั้งใจเก็งข้อสอบมานำเสนอแล้วกันนะครับ เพราะเป็นเรื่องใหม่  ต่อจากลดเวลาเรียน  เพิ่มเวลารู้  ฉบับที่ผ่านมาครับ
           ภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ผนึกความร่วมมือสานพลังประชารัฐ ด้าการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำขับเคลื่อนและยกระดับมาตรฐานการศึกษานำร่องโรงเรียนต้นแบบประชารัฐ 7,424 แห่ง ทุกตำบล ทั่วประเทศ
กรุงเทพฯ 3 มีนาคม 2559 ภาครัฐ โดยกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคเอกชน นำโดย บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และภาคประชาสังคม รวมทั้งสิ้นกว่า 25 องค์กร ร่วมตอบสนองนโยบายประชารัฐ

พลเอก ดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ กล่าวว่า การพัฒนาการศึกษาเป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งปัจจุบันการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยยังประสบปัญหาอยู่ 6 ด้าน คือ
- จัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ในสถานศึกษา
- ครูบางส่วนขาดเทคนิคการสอน
- ปัญหาการขาดแคลนครู
- ครูไม่ครบชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก
- โรงเรียนบางแห่งสามารถเข้าถึงสื่อสาระการเรียนรู้ได้อย่างจำกัด
- ผู้บริหารสถานศึกษาบางส่วนยังไม่สามารถบริหารโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ กระทรวงศึกษาธิการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ การเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไปทำได้ช้า
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน มาร่วมกำหนดทิศทางกรอบการพัฒนาในทุกมิติ รวมทั้งการจัดทำโครงสร้างการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม 10 กรอบหลัก ได้แก่
1.       พัฒนาระบบข้อมูลการศึกษา ของโรงเรียนที่เปิดเผยสู่สาธารณะซึ่งจะเปิดโอกาสให้ ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานต่างๆ และภาคเอกชนที่สนใจสามารถพิจารณาสนับสนุน และติดตามผลได้อย่างใกล้ชิด (Transparency & Monitoring & Evaluation)
2.        พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อให้สถานศึกษาได้เข้าถึงองค์ความรู้ และมาตรฐานการศึกษาจากทั่วโลก (Digital Infrastructure & High Standard Education Accessibility)
3.       พัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน  การรวบรวมสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการนำต้นแบบผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนการสอนจากสถาบันชั้นนำ มาปรับใช้ในโรงเรียน (Curriculum, Teaching Technique & Manual)
4.       จัดการเรียนการสอนที่ฝึกให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง รู้จักคิดวิเคราะห์ และส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม และการมีจิตสาธารณะ (Health, Heart & Ethics)
5.       ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำและธรรมาภิบาลของผู้บริหารถานศึกษา และพัฒนาครูผู้สอนให้เป็นผู้แนะนำและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง (High Quality Principles & Teachers Leadership)
6.        สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ปกครองและชุมชน ซึ่งเป็นภาคส่วนที่สำคัญ เข้ามามีส่วนร่วมในการ
พัฒนาโรงเรียน (Market Mechanism Engagement Parent & Community / Funds)
7.       เชิญชวนสถาบันการศึกษาและบุคคลากรทางการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ที่มีความเชี่ยวชาญ เข้าร่วมพัฒนาการศึกษา (Local & International Teachers & University Partnership & Incentive)
8.        ยกระดับทักษะความสามารถด้านภาษาอังกฤษของนักเรียน (English Language Capacity)
9.        พัฒนาและส่งเสริมผู้นำรุ่นใหม่ เข้าร่วมพัฒนาโรงเรียน (Young Leadership Development)
10.  การเตรียมหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการร่วมพัฒนาศูนย์การศึกษาเทคโนโลยีแห่งอนาคต ในระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง (Technology Megatrends Hub & R&D)

ข้อ 1 วัตถุประสงค์ของความร่วมมือ
1.1 เพื่อพัฒนาและยกระดับการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน รวมถึงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณลักษณะและสมรรถนะความเป็นผู้นำในการบริหารสถานศึกษาทั้งด้านคุณธรรมจริยธรรมและสัมฤทธิผลทางการศึกษา
1.2 เพื่อจัดทำและเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ 
1.3 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาระบบ ICT   เพื่อการศึกษาและการบริหารจัดการสื่อ
1.4 เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Active Learning, Critical Thinking)  จัดทำคู่มือการจัดการเรียนการสอน    และการจัดทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่   เน้นพัฒนาจิตสาธารณะ  เพื่อการบริการชุมชนและสังคม
1.5 เพื่อยกระดับความสามารถด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษาสู่ระดับนานาชาติ

                ข้อ  2  เป้าหมายของโครงการ
เพื่อขับเคลื่อนและยกระดับการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   โดย
เริ่มต้นจากโรงเรียนต้นแบบในทุกตำบล   รวมทั้งสิ้น  7,424 โรงเรียน  (อนุบาล ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย )  และขยายผลต่อไปทั่วประเทศ

        ข้อ 3 ระยะเวลาดำเนินงาน 
               
การดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้  มีระยะเวลาดำเนินงานตามโครงการในระยะแรก 3 (สาม)  ปี    เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม  พ.ศ.  2559     สิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2561
สรุปย่อเลยนะครับว่า โรงเรียนประชารัฐเน้น 3 เรื่อง  เป็นประเด็นข้อสอบครับ
1.     ต้องการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม เหมือน โรงเรียนสัตยาไสย์ และวิถีพุทธ
2.     เน้นภาษาอังกฤษ ใช้ English 24, Echo English เป็นต้น
3.     รูปแบบ STEM ศึกษา คือ เน้นวิทย์ คณิตและเทคโนโลยี  เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเป็นโครงงานจริง


สรุปนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ล่าสุด 59 กระชับแน่น!


สวัสดีครับทุกท่าน  ที่ให้เกียรติติดตามอ่าน เพจเรา  วันนี้ก็เช่นเคยครับ จะนโยบายที่เป็นประเด็นข้อสอบมาฝากทุกท่าน  ให้เล็กผสมน้อยค่อยๆ  ทบทวนกันไปรับรองท่านจะไม่ผิดหวัง  วันนี้จะนำในเรื่อง นโยบาย “ลดเวลาเรียน  เพิ่มเวลารู้” ที่ต้องเป็นประเด็นในการออกข้อสอบแน่นอน  เพราะเป็นนโยบายของ รมต.ศธ  และนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ด้วย  เอาหละครับ  มาเริ่มกันเลย
นโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”moderate class more knowledge ไปสู่การปฏิบัติมีความชัดเจนตรงกันจึงกำหนดความหมายของคำสำคัญ ไว้ดังนี้
๑.  ลดเวลาเรียน หมายถึง การลดเวลาเรียนภาควิชาการและการลดเวลาของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้ เช่น การบรรยาย การสาธิต การศึกษาใบความรู้ ให้น้อยลง
๒.  เพิ่มเวลารู้ หมายถึง การเพิ่มเวลาและโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง คิดวิเคราะห์ทำงานเป็นทีม และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุขจากกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลายมากขึ้น
ประเด็นที่เป็นข้อสอบ คือ 4 ที่เพิ่มเติมเข้ามา  ซึ่งในช่วงแรกมีแค่ 3 H คือ Head Hand Heart และ Health
เน้นอยู่ 4 หมวด  16  กิจกรรมรายละเอียด ดังนี้

หมวดที่ ๑ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมบังคับตามหลักสูตร)

 ๑. กิจกรรมแนะแนว

 ๒. กิจกรรมนักเรียน

 ๓. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์

 

หมวดที่ ๒ สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ (Head)

๔. พัฒนาความสามารถด้านการสื่อสาร

๕. พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset)

๖. พัฒนาความสามารถด้านการแก้ปัญหา

๗. พัฒนาความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยี

๘. พัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

หมวดที่ ๓ สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม (Heart)

๙. ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคมมีจิตสาธารณะและการให้บริการ ด้านต่าง ๆ ทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและต่อส่วนรวม  

๑๐. ปลูกฝังความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์             

๑๑.  ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม (มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน กตัญญู)              

๑๒.  ปลูกฝังความรักความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและหวงแหนสมบัติของชาติ

 

หมวดที่ ๔ สร้างเสริมทักษะการทำงานการดำรงชีพ และทักษะชีวิต (Hand ,Health)         

๑๓. ตอบสนองความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล              

๑๔. ฝึกการทำงาน ทักษะทางอาชีพ ทรัพย์สินทางปัญญา อยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน              

๑๕. พัฒนาความสามารถด้านการใช้ทักษะชีวิต              

๑๖. สร้างเสริมสมรรถนะทางกาย

 



 แนวการจัดการเรียนการสอน
สำหรับนักเรียน
ชั้น ป. 1- 6 พื้นฐาน 840 ชม./ปี เพิ่มเติม ม่เกิน 40 ชม./ปั 
สำหรับนักเรียน

 ชั้น ม.1- 3 พื้นฐานไม่เกิน 880 ชม.เพิ่มเติม 

ไม่เกิน 200 ชม./ปี เรียนในห้องเรียน 27 ชม./สัปดาห์

หลักใจความสำคัญในประเด็นที่ออกข้อสอบ

1.     การเลือกเรียนของนักเรียน  แบ่งได้  3  แบบคือ

         1.1     ครูเลือกให้ 

         1.2      นักเรียนเลือกเอง

         1.3      แบบผสมผสาน 1+2 = 3

2.     โครงสร้างเวลาเปลี่ยนจากคำว่า ไม่น้อยกว่า  เป็น ไม่เกิน

         2.1    ป.1-3 เรียนไม่เกิน 1000 ชั่วโมง/ปี

         2.2     ป.4-6 เรียนไม่เกิน 1000 ชั่วโมง/ปี

         2.3      ม.1-3 เรียนไม่เกิน 1200 ชั่วโมง/ปี

แต่ต้องขอย้ำตรงนี้เลยว่า วิชาหน้าที่พลเมือง 

ไม่ต้องมีในตารางสอน  แต่ให้มีผู้รับผิดชอบสอนโดยการบูรณาการ สอดแทรกเนื้อหาวิชาในกิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมโฮมรูม  กิจกรรมสวดมนต์ แลเอื่นๆ  เพราะกิจกรรมนี้ต้องตัดเกรด 0.5 หน่วยกิจนะครับ

        สำหรับตารางเรียน นั้น  ไม่ยากอย่างที่คิด นโยบายให้สามารถปรับให้

ยืดหยุ่นได้ครับ  ในการการเริ่มกิจกรรมลดเวลาเรียน  เพิ่มเวลารู้ คือ 14.30  เป็นต้นไป

ออกข้อสอบแน่นอนครับ

1.   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมี

พระราชดำรัสในเรื่องการศึกษาว่า ทรงมีพระราชดำริให้มีการนำองค์ ๔ แห่งการศึกษา คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา และหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ หมายถึง การฟัง การคิด การถาม และการเขียน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของนักปราชญ์ และบัณฑิต

2.     โครงสร้างเวลาเรียน เหมือนเดิม เปลี่ยนจากไม่น้อยกว่า เป็น ไม่เกิน เป็น

ประเด็นออกข้อสอบนะครับ  ใช้สำคัญโรงเรียนที่นำร่อง  แต่โรงเรียนใดไม่ได้เข้าร่วมโครงการก็ยังคงใช้ หลักสูตรแกนกลาง 51 ใช้คำว่าไม่น้อยกว่านะครับ

3.     4 H เป็นประเด็นสำคัญสำคัญ ออกข้อสอบนะครับ

 

สรุป หลักๆ มีแค่นี้จริงๆ ครับ  ขอบคุณที่ติดตาม Blog เรา 


วันนี้นำมาเสนอ แค่ 1-2 คะแนน ติดตามเรา  เราจะนำมาเสนอประเด็นที่คาดว่าจะออกข้อสอบอีกในฉบับต่อไปครับ

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

สรุปพรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2559 ฉบับที่ 6 จบบริบูรณ์


สวัสดีครับ  ผู้ที่ติดตามอ่าน Blog  เรา เพจนี้คือ สรุปสุดท้าย พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2563 ฉบับที่ 6  ท่านใดที่ยังไม่ได้อ่านหนังสือเลยลองอ่านทุกเพจของเรานะครับ  เพราะเราตั้งใจที่สรุปประเด็นสำคัญสำหรับท่านใดที่เตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ  เปิดทางลัดสูตรสำเร็จอยู่ตรงนี้นะครับ  ค่อยๆ อ่านทีละประเด็นจับใจความสำคัญให้ได้  แล้วเราจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน  อย่าเพิ่งหลับนะครับ  อ่านหนังสือก่อน  มาเข้าประเด็นของเราเลยดีกว่า
มาตรา 34 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีหน้าที่
1. พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ 
ประเด็นนี้ที่คาดว่าจะออกข้อสอบ  ให้เราสังเกตคำว่า  กำกับ ส่งเสริม สนับสนุน/เห็นชอบ  ไม่ใช่อนุมัติโครงการนะครับ  บางโรงเรียนใช้อนุมัติซึ่งไม่ถูกต้อง
มาตรา 37  การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย 
ประเด็นออกข้อสอบตรงนี้เลย >>>ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา
• เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา…..(183 เขต)
• เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา…..(42 เขต)  183+42=225  เขต
มาตรา 38  ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่
กำกับ  ติดตาม  ส่งเสริม  สนับสนุน
        ผู้เขียนขอสรุปเลยนะครับ  เพราะอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการเขตพื้นที่  โดยมี ผอ.เขต เป็นกรรมการและเลขานุการ  โดน ม.44 ยุบไปเรียบร้อยแล้ว  และถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ต่างเข้าไปที่ กศจ. เรียบร้อยแล้ว  ดังนั้น  ข้อสอบที่จะออกต้องเป็นประเด็นใหม่อย่างแน่นอน  รอก่อนนะครับ เดี๋ยวเราจะนำเสนอในฉบับต่อๆ ไปครับ
มาตรา 39  ให้มีการกระจายอำนาจ 4 งาน วิชาการ งบประมาณ บุคคล ทั่วไป ไปยังคณะกรรมการเขต (ยุบแล้ว) สนง.เขต และสถานศึกษา ประเด็นที่ต้องออกแน่ๆ คือ กศจ. และ อกศจ.ที่ทำหน้าที่เป็นทั้ง อ.ก.ค.ศ. และ คณะกรรมการเขต
มาตรา 40 ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่กำกับและส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ประกอบด้วย 
1. ผู้แทนผู้ปกครอง    2. ผู้แทนครู  3. ผู้แทนองค์กรชุมชน    4. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  5. ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา   6. ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์หรือผู้ทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ และ 7. ผู้ทรงคุณวุฒิ  ให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสถานศึกษา  
ออกแน่นอน 100% >>> สูตรการจำนำไปสอบ : ครอง ครู ชน ถิ่น ศิษย์ สงฆ์ คุณ
หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา 47  ระบบประกัน ภายใน+ภายนอก
มาตรา 48  ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
สูตรการจำนำไปสอบ : ใน รายงาน >>> ต้น  เกี่ยว  ชน
มาตรา 49  ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนา เกณฑ์  วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของ สถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการและแนวการจัดการศึกษา ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
สูตรการจำนำไปสอบ : นอกเสนอผล>>> เกี่ยว  ชน  (นอก 2  ใน  3  ที่ )
หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา 53  ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหาร ของสภาวิชาชีพ ในกำกับของกระทรวง  (ทำให้เกิด พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546)
มาตรา 55  ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน  มีใช้เฉพาะ กระทรวง ศธ.
หมวด 8   ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
มาตรา 59  ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล 
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา 66  ผู้เรียนมีสิทธิ์ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการเทคโนโลยี
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ทั้ง 3 ฉบับ
(ฉบับที่1 พ.ศ.2542)  คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรม และสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้ คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้อง
(ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545)  คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการ โดยให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมไป จัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม และโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการบริหารและการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา และการให้มีคณะกรรมการอาชีวศึกษา

(ฉบับที่ 3 พ.ศ.2553)  สรุป ประถม+มัธยมอยู่ด้วยกัน การบริหารไม่คล่องตัว สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ 

My ads