วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

สรุปพรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2559 ฉบับที่ 6 จบบริบูรณ์


สวัสดีครับ  ผู้ที่ติดตามอ่าน Blog  เรา เพจนี้คือ สรุปสุดท้าย พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2563 ฉบับที่ 6  ท่านใดที่ยังไม่ได้อ่านหนังสือเลยลองอ่านทุกเพจของเรานะครับ  เพราะเราตั้งใจที่สรุปประเด็นสำคัญสำหรับท่านใดที่เตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ  เปิดทางลัดสูตรสำเร็จอยู่ตรงนี้นะครับ  ค่อยๆ อ่านทีละประเด็นจับใจความสำคัญให้ได้  แล้วเราจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน  อย่าเพิ่งหลับนะครับ  อ่านหนังสือก่อน  มาเข้าประเด็นของเราเลยดีกว่า
มาตรา 34 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีหน้าที่
1. พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ 
ประเด็นนี้ที่คาดว่าจะออกข้อสอบ  ให้เราสังเกตคำว่า  กำกับ ส่งเสริม สนับสนุน/เห็นชอบ  ไม่ใช่อนุมัติโครงการนะครับ  บางโรงเรียนใช้อนุมัติซึ่งไม่ถูกต้อง
มาตรา 37  การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย 
ประเด็นออกข้อสอบตรงนี้เลย >>>ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา
• เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา…..(183 เขต)
• เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา…..(42 เขต)  183+42=225  เขต
มาตรา 38  ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่
กำกับ  ติดตาม  ส่งเสริม  สนับสนุน
        ผู้เขียนขอสรุปเลยนะครับ  เพราะอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการเขตพื้นที่  โดยมี ผอ.เขต เป็นกรรมการและเลขานุการ  โดน ม.44 ยุบไปเรียบร้อยแล้ว  และถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ต่างเข้าไปที่ กศจ. เรียบร้อยแล้ว  ดังนั้น  ข้อสอบที่จะออกต้องเป็นประเด็นใหม่อย่างแน่นอน  รอก่อนนะครับ เดี๋ยวเราจะนำเสนอในฉบับต่อๆ ไปครับ
มาตรา 39  ให้มีการกระจายอำนาจ 4 งาน วิชาการ งบประมาณ บุคคล ทั่วไป ไปยังคณะกรรมการเขต (ยุบแล้ว) สนง.เขต และสถานศึกษา ประเด็นที่ต้องออกแน่ๆ คือ กศจ. และ อกศจ.ที่ทำหน้าที่เป็นทั้ง อ.ก.ค.ศ. และ คณะกรรมการเขต
มาตรา 40 ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่กำกับและส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ประกอบด้วย 
1. ผู้แทนผู้ปกครอง    2. ผู้แทนครู  3. ผู้แทนองค์กรชุมชน    4. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  5. ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา   6. ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์หรือผู้ทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ และ 7. ผู้ทรงคุณวุฒิ  ให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสถานศึกษา  
ออกแน่นอน 100% >>> สูตรการจำนำไปสอบ : ครอง ครู ชน ถิ่น ศิษย์ สงฆ์ คุณ
หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา 47  ระบบประกัน ภายใน+ภายนอก
มาตรา 48  ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
สูตรการจำนำไปสอบ : ใน รายงาน >>> ต้น  เกี่ยว  ชน
มาตรา 49  ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนา เกณฑ์  วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของ สถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการและแนวการจัดการศึกษา ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
สูตรการจำนำไปสอบ : นอกเสนอผล>>> เกี่ยว  ชน  (นอก 2  ใน  3  ที่ )
หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา 53  ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหาร ของสภาวิชาชีพ ในกำกับของกระทรวง  (ทำให้เกิด พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546)
มาตรา 55  ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน  มีใช้เฉพาะ กระทรวง ศธ.
หมวด 8   ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
มาตรา 59  ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล 
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา 66  ผู้เรียนมีสิทธิ์ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการเทคโนโลยี
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ทั้ง 3 ฉบับ
(ฉบับที่1 พ.ศ.2542)  คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรม และสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้ คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้อง
(ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545)  คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการ โดยให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมไป จัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม และโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการบริหารและการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา และการให้มีคณะกรรมการอาชีวศึกษา

(ฉบับที่ 3 พ.ศ.2553)  สรุป ประถม+มัธยมอยู่ด้วยกัน การบริหารไม่คล่องตัว สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ 

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2559 ฉบับที่ 5

สวัสดีครับ ผู้ติดตามทุกท่าน  ตามที่สัญญากันไว้จะอัพข้อมูลการสอบทุกวันครับ  ฉบับนี้ก็เช่นเคยเป็นการสรุปประเด็นการออกข้อสอบ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ  วันละข้อสองข้อ  เพื่อให้เราได้ทบทวนกันก่อนเข้าสอบ  มีคนถามว่าผู้เขียนทราบอย่างไรว่าตรงนี้ตรงนั้นออกข้อสอบ  คำตอบสั้นกระชับชัดเจน คือ จากการวิเคราะห์ข้อสอบของตนเอง  สถิติการออกข้อสอบ  และรวมถึงผู้รู้ต่างๆ ที่ได้ช่วยกันนำเสนอข้อมูลเพื่อแบ่งปันกัน  เริ่มเลยครับ
หมวด 5  การบริหารและการจัดการศึกษาทำให้เกิด พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2546  ในช่วงรอความชัดเจนในการแต่งตั้ง อกศจ.จังหวัดครับ  หมวดนี้จะต้องมาแน่ๆ ข้อสอบ  กระทรวง ศธ. ยังอยู่  สพฐ.ยังอยู่  เขตยังอยู่รอดปลอดภัยดี  มีเพียงในด้าน อ.ก.ค.ศ. และคณะกรรมการเขตเท่านั้นที่ถูกยุบไป  จึงทำให้การบริหารงานดังกล่าวถูกโอนอำนาจให้กับ กศจ. จังหวัดดำเนินการแทน  โดยให้ ผอ.สพป. เขต 1 ทุกจังหวัดสวมหมวก 2 ใบ สิ่งใดที่ดำเนินการก่อนวันที่ 21 มีนาคม ก็ดำเนินต่อไปได้เลย  แต่อะไรที่ดำเนินการหลังก็ให้รอจนกว่าจะได้คณะกรรมการครบก่อนครับ  เข้าเรื่องเราเลยดีกว่า
ที่เคยออกข้อสอบ  คำถามมีอยู่ว่า  หมวดใดของ พรบ.การศึกษาที่ทำให้เกิดระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ 2546 คำตอบ คือ หมวด 5
มาตรา 31 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการ
และต้องออกมาอีก 1 ข้อ  เก็งไว้คงเป็น ข้อ 1-2 เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวง
1. ส่งเสริม และกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท   >>>ออกข้อสอบบ่อย
2. กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา >>>>  ออกข้อสอบบ่อย 
3. สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
4. ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา  5. การติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา
มาตรา 32  การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรือในรูปคณะกรรมการจำนวน 4 องค์กร ไดแ้ก่ 
• สภาการศึกษา (มี 59 คน)  >>>> เคยออกข้อสอบมาแล้ว
• คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ไม่เกิน 27 คน) >>>เคยออกข้อสอบมาแล้ว
• คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ไม่เกิน 32 คน)
• คณะกรรมการการอุดมศึกษา (ไม่เกิน 28 คน)  เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำ แนะนาแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี 
มาตรา 33 สภาการศึกษา มีหน้าที่
(1) พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ
(2) พิจารณาเสนอนโยบาย แผนและมาตรฐานการศึกษาเพื่อดา เนินการให้เป็นไปตามแผนตาม (1) 
(3) พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา 
(4) ดำเนินการประเมินผลการจัดการศึกษาตาม (1) 
(5) ให้ความเห็นหรือคำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายและกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้  การเสนอนโยบาย แผนการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการศึกษาให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี  ให้คณะกรรมการสภาการศึกษา ประกอบด้วย 
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ >>>>>>>เป็นประธาน 
2. กรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ผู้แทนองค์กรเอกชน      
4. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
5. ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ     
6. พระภิกษุซึ่งเป็นผู้แทนคณะสงฆ์
7. ผู้แทนคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย 
8. ผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นและ
9. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน   ให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นนิติบุคคล

        ขอบคุณที่ติดตามเรา  ฉบับหน้ามาสรุปประเด็นเด็ดที่เคยออกข้อสอบมาแล้ว  มาอ่านจำ  นำไปต่อยอด  พิชิตข้อสอบกันฉบับที่ 6 ต่อนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2559 ฉบับที่ 4

สวัสดีครับ  กับอากาศเย็นๆ ช่วงเช้าแบบนี้ ประเด็นที่ผู้เขียนติดข้างอยู่และสัญญาจะมาต่อในฉบับที่ 4 คือ สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2559 เอาหละครับ  ไม่ต้องเสียเวลามากสำหรับเพจนี้  ก็จะขอนำเสนอประเด็นที่สำคัญๆ  และก็ออกข้อสอบบ่อยมาก  มาปูทางลัดให้กับเซียนนักสอบทั้งหลายได้ตกผลึกและเก็บคะแนนใส่กระเป๋าอย่างจุใจ
หมวด 4  แนวการจัดการศึกษา  <<< ต้องออกข้อสอบ 100%
มาตรา 22  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด (Children Center) กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

มาตรา 23  การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญ ทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้  (K  P  A  แปดกลุ่มสาระ)
(1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกันสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคม โลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(4) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(5) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

มาตรา 24  การจัดกระบวนการเรียนรูให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้  <<<<<<ออกข้อสอบตลอด ออกจริงๆ
หลักการจำนำไปสอบ:  สนใจ-ถนัด  คิด-แก้  รู้-จริง  ผสาน-ธรรม  วิจัย-สื่อ  ทุกที่-ร่วมมือ
(1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและ แก้ไขปัญหา
(3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ท้าได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและ เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกวิชา
(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
(6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และ บุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

มาตรา 27  ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ: กำหนดแกนกลาง @@@@ออกข้อสอบ )เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลกัสูตร

ขอบคุณสำหรับการติดตาม Blog เรา  เจอกันใหม่ สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 นะครับ  www.kroobanrao.blogspot.com  


สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2559 ฉบับ 3

สวัสดีครับกับอากาศร้อนๆ  แบบนี้ ประเด็นที่ผู้เขียนติดข้างอยู่คือ สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2559 ที่ยังติดค้างอยู่  เอาหละครับ  ไม่ต้องเสียเวลามากสำหรับเพจนี้  ก็จะขอนำเสนอประเด็นที่สำคัญๆ  และก็ออกข้อสอบบ่อยมาก  มาปูทางลัดให้กับเซียนนักสอบทั้งหลายได้ตกผลึกกันนะครับ
หมวด 2  สิทธิและหน้าทที่างการศึกษา <<<ออกแน่นอน 100%
มาตรา 10  การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสอง ปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญาอารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัด ให้บุคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดดังกล่าวมีสิทธิ์ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความ
สามารถของบุคคลนั้นๆ
สูตรการจำนำไปสอบ: ปกติ:ไม่เก็บ, พิการ: ไม่เสีย, พิเศษ:เหมาะสม

มาตรา 13  บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิ์ไดรับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้ 
(1) การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคล ซึ่งอยู่ในความดูแล
(2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
(3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด

หมวด 3  ระบบการศึกษา  @@@ ออกแน่ๆ 1 ข้อ จัดไปครับ
มาตรา 15  การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัด และประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมายรูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและ หลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพความพร้อม และโอกาสโดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อมสื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจาก ประสบการณ์การทา งาน

มาตรา 16  การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา

มาตรา 17 ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบไดชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับตามหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

รับประกันช็อตเด็ดนี้ออกแน่นอนครับ 
สูตรการจำนำไปสอบง่ายมากครับ
    1.    ใน: แน่นอน  >>> การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ ฐาน , ดม
    2.    นอก: หยืดหยุ่น
    3.    อัธยาศัย : สนใจ ต้องการ


ขอบคุณสำหรับการติดตาม Blog เรา  เจอกันใหม่ สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 นะครับ  www.kroobanrao.blogspot.com

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2559 ฉบับที่ 2

สวัสดีตอนเย็นๆ  อากาศช่างเป็นใจสำหรับนักอ่านหนังสือเตรียมสอบทุกท่าน  จงใช้เวลาที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ขอบคุณทุกกำลังใจที่ติดตามBlog เรา  ผู้เขียนไม่ต้องการอะไรมากแค่รู้สึกมีความสุขกับการแบ่งปันข้อมูลและขอให้ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสอบจนกว่าจะประสบผลสำเร็จ  เริ่มเลยดีกว่าสำหรับ สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2559 ฉบับที่ 2 ก่อนนอนนะครับ
หมวด 1  บททั่วไป  จัดมาแน่นอน ! 100%
ความมุ่งหมายและหลักการ
มาตรา 6  การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้ได้อย่างมีความสุข

มาตรา 8  การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
<<<สูตรจำนำไปสอบ : ตลอดชีวิต  มีส่วนร่วม  ต่อเนื่อง        ออกทุกครั้ง
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน  
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

มาตรา 9  การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักกดังนี้  ไม่เคยพลาดในการออกข้อสอบ  อย่างน้อยมาแน่ๆ 1 ข้อ
>>>ออกแน่นอน      เอกภาพ กระจายอำนาจ  มาตรฐาน  ครู ระดมทรัพย์ ร่วม  
(1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนา ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 
(5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น


        สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2559 ขอรับรองว่าอย่างน้อยต้องมาแน่นอน 1 ข้อ  ขอให้ผู้เข้าสอบทุกท่านเก็บทุกช็อต  ทุกนาทีต่อจากนี้คือการเรียนรู้  แล้ววิธีไหนหละที่จะสร้างทางลัด หรือทางกระจัดให้เราสำเร็จ  www.kroobanrao.blogspot.com จัดให้ทุกท่านแล้วครับ ต่อกันฉบับที่ 3 อย่าลืมทบทวนนะครับ

My ads