วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2559 ฉบับ 3

สวัสดีครับกับอากาศร้อนๆ  แบบนี้ ประเด็นที่ผู้เขียนติดข้างอยู่คือ สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2559 ที่ยังติดค้างอยู่  เอาหละครับ  ไม่ต้องเสียเวลามากสำหรับเพจนี้  ก็จะขอนำเสนอประเด็นที่สำคัญๆ  และก็ออกข้อสอบบ่อยมาก  มาปูทางลัดให้กับเซียนนักสอบทั้งหลายได้ตกผลึกกันนะครับ
หมวด 2  สิทธิและหน้าทที่างการศึกษา <<<ออกแน่นอน 100%
มาตรา 10  การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสอง ปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญาอารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัด ให้บุคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดดังกล่าวมีสิทธิ์ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความ
สามารถของบุคคลนั้นๆ
สูตรการจำนำไปสอบ: ปกติ:ไม่เก็บ, พิการ: ไม่เสีย, พิเศษ:เหมาะสม

มาตรา 13  บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิ์ไดรับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้ 
(1) การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคล ซึ่งอยู่ในความดูแล
(2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
(3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด

หมวด 3  ระบบการศึกษา  @@@ ออกแน่ๆ 1 ข้อ จัดไปครับ
มาตรา 15  การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัด และประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมายรูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและ หลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพความพร้อม และโอกาสโดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อมสื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจาก ประสบการณ์การทา งาน

มาตรา 16  การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา

มาตรา 17 ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบไดชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับตามหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

รับประกันช็อตเด็ดนี้ออกแน่นอนครับ 
สูตรการจำนำไปสอบง่ายมากครับ
    1.    ใน: แน่นอน  >>> การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ ฐาน , ดม
    2.    นอก: หยืดหยุ่น
    3.    อัธยาศัย : สนใจ ต้องการ


ขอบคุณสำหรับการติดตาม Blog เรา  เจอกันใหม่ สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 นะครับ  www.kroobanrao.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

My ads