วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

สรุปพรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2559 ฉบับที่ 6 จบบริบูรณ์


สวัสดีครับ  ผู้ที่ติดตามอ่าน Blog  เรา เพจนี้คือ สรุปสุดท้าย พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด 2563 ฉบับที่ 6  ท่านใดที่ยังไม่ได้อ่านหนังสือเลยลองอ่านทุกเพจของเรานะครับ  เพราะเราตั้งใจที่สรุปประเด็นสำคัญสำหรับท่านใดที่เตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ  เปิดทางลัดสูตรสำเร็จอยู่ตรงนี้นะครับ  ค่อยๆ อ่านทีละประเด็นจับใจความสำคัญให้ได้  แล้วเราจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน  อย่าเพิ่งหลับนะครับ  อ่านหนังสือก่อน  มาเข้าประเด็นของเราเลยดีกว่า
มาตรา 34 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีหน้าที่
1. พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ 
ประเด็นนี้ที่คาดว่าจะออกข้อสอบ  ให้เราสังเกตคำว่า  กำกับ ส่งเสริม สนับสนุน/เห็นชอบ  ไม่ใช่อนุมัติโครงการนะครับ  บางโรงเรียนใช้อนุมัติซึ่งไม่ถูกต้อง
มาตรา 37  การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย 
ประเด็นออกข้อสอบตรงนี้เลย >>>ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา
• เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา…..(183 เขต)
• เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา…..(42 เขต)  183+42=225  เขต
มาตรา 38  ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่
กำกับ  ติดตาม  ส่งเสริม  สนับสนุน
        ผู้เขียนขอสรุปเลยนะครับ  เพราะอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการเขตพื้นที่  โดยมี ผอ.เขต เป็นกรรมการและเลขานุการ  โดน ม.44 ยุบไปเรียบร้อยแล้ว  และถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ต่างเข้าไปที่ กศจ. เรียบร้อยแล้ว  ดังนั้น  ข้อสอบที่จะออกต้องเป็นประเด็นใหม่อย่างแน่นอน  รอก่อนนะครับ เดี๋ยวเราจะนำเสนอในฉบับต่อๆ ไปครับ
มาตรา 39  ให้มีการกระจายอำนาจ 4 งาน วิชาการ งบประมาณ บุคคล ทั่วไป ไปยังคณะกรรมการเขต (ยุบแล้ว) สนง.เขต และสถานศึกษา ประเด็นที่ต้องออกแน่ๆ คือ กศจ. และ อกศจ.ที่ทำหน้าที่เป็นทั้ง อ.ก.ค.ศ. และ คณะกรรมการเขต
มาตรา 40 ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่กำกับและส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ประกอบด้วย 
1. ผู้แทนผู้ปกครอง    2. ผู้แทนครู  3. ผู้แทนองค์กรชุมชน    4. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  5. ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา   6. ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์หรือผู้ทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ และ 7. ผู้ทรงคุณวุฒิ  ให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสถานศึกษา  
ออกแน่นอน 100% >>> สูตรการจำนำไปสอบ : ครอง ครู ชน ถิ่น ศิษย์ สงฆ์ คุณ
หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา 47  ระบบประกัน ภายใน+ภายนอก
มาตรา 48  ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
สูตรการจำนำไปสอบ : ใน รายงาน >>> ต้น  เกี่ยว  ชน
มาตรา 49  ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนา เกณฑ์  วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของ สถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการและแนวการจัดการศึกษา ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
สูตรการจำนำไปสอบ : นอกเสนอผล>>> เกี่ยว  ชน  (นอก 2  ใน  3  ที่ )
หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา 53  ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหาร ของสภาวิชาชีพ ในกำกับของกระทรวง  (ทำให้เกิด พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546)
มาตรา 55  ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน  มีใช้เฉพาะ กระทรวง ศธ.
หมวด 8   ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
มาตรา 59  ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล 
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา 66  ผู้เรียนมีสิทธิ์ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการเทคโนโลยี
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ทั้ง 3 ฉบับ
(ฉบับที่1 พ.ศ.2542)  คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรม และสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้ คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้อง
(ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545)  คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการ โดยให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมไป จัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม และโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการบริหารและการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา และการให้มีคณะกรรมการอาชีวศึกษา

(ฉบับที่ 3 พ.ศ.2553)  สรุป ประถม+มัธยมอยู่ด้วยกัน การบริหารไม่คล่องตัว สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

My ads